“ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ถูกนำมาใช้แทน “ภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องถิ่น” เพื่อเรียกเก็บภาษีจากผู้ที่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้าน ที่ดินเปล่า คอนโด ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ย่อมต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งภาษีนี้ถูกจัดเก็บโดย “องค์การส่วนท้องถิ่น” เพื่อนำเงินรายได้จากภาษีไปพัฒนาท้องถิ่นนั้น ๆ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ เจ้าของที่ดินหรือเจ้าของสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ แต่ถ้าเจ้าของที่ดินและเจ้าของสิ่งปลูกสร้างคนละคนกัน ก็ให้เจ้าของที่ดินเสียภาษีเฉพาะส่วนของมูลค่าที่ดิน และเจ้าของสิ่งปลูกสร้างเสียภาษีเฉพาะมูลค่าสิ่งปลูกสร้าง (สิ่งปลูกสร้างที่ยังสร้างไม่เสร็จและยังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ไม่ต้องเสียภาษีนี้)
การเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อัตราภาษีขึ้นอยู่กับประเภทการใช้ประโยชน์หรือการใช้งาน แต่ถ้าหากที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างมีการใช้ประโยชน์หลายประเภท ภาษีจะคำนวณตามสัดส่วนพื้นที่การใช้งานตามประเภทนั้น ๆ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
- ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ต้องเป็นการทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ทำประมง ปลูกพืช และอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร่วมกันประกาศกำหนด ทั้งนี้ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาต้องขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกร หรือต้องปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ตามจำนวนขั้นต่ำที่กำหนด ยกตัวอย่างเช่น ปลูกกล้วยหอม ขั้นต่ำ 200 ต้นต่อไร่ ปลูกทุเรียน ขั้นต่ำ 20 ต้นต่อไร่ เป็นต้น
- ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของใช้อยู่อาศัยเอง (บ้านตนเอง) บ้านของตนเองแต่ให้ญาติพี่น้องอยู่อาศัย ให้เช่าเพื่ออาศัยแบบรายเดือน (หอพัก คอนโด เป็นต้น) รวมถึงโฮมสเตย์ ให้เสียภาษีในอัตราที่อยู่อาศัย แต่ถ้าเป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม จะไม่ถูกเก็บภาษีในอัตราที่อยู่อาศัย แต่จะถูกเก็บภาษีในอัตราอื่น ๆ แทน
- ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่น ๆ เป็นที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อทำการค้าหรือเชิงพาณิชย์ เช่น โรงงาน โรงแรม โกดังสินค้า ร้านค้า เป็นต้น
- ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า เป็นที่ดินที่สามารถทำประโยชน์บางอย่างได้ แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำประโยชน์อะไร ปล่อยทิ้งไว้ว่างเปล่า
การเตรียมตัวรับมือกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ขั้นแรกควรสำรวจว่าเรามีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใดบ้าง ที่ดินที่เรามีอยู่เป็นการใช้ประโยชน์แบบใดเพราะแต่ละแบบมีอัตราภาษีที่แตกต่างกัน ขั้นที่สองสำรวจราคาประเมินของที่ดินที่มีอยู่ ขั้นที่สาม ลองประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างว่าเป็นจำนวนเท่าใด ขั้นสุดท้าย จ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแต่ถ้าหากจำนวนภาษีสูงเกินไป ให้ประเมินว่ามีที่ดินที่ไหนบ้างที่สามารถเปลี่ยนการใช้ประโยชน์เพื่อให้อัตราภาษีลดลงได้บ้าง ดังนั้นการประเมินหรือเตรียมพร้อมแต่เนิ่น ๆทุกปี จะทำให้มีโอกาสประหยัดภาษีได้
อ่านบทความอื่นต่อ

ลงทุนในเมกะโปรเจกต์! กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
หากคุณเป็นนักลงทุน และมีความต้องการจะเข้าไปลงทุนในโครงการระดับเมกะโปรเจกต์ของประเทศ ลองมาทำความรู้จักกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกันดู

เทคนิคการออมเงิน
ในบทความก่อนหน้านี้ ได้อธิบายถึง “การวางแผนการออม” ซึ่งควรเริ่มจาก “เป้าหมายในการออมเงิน” ว่าแต่ละคนอยากออมเงินไปเพื่ออะไร เมื่อแต่ละคนมีเป้าหมายการออมเงินที่ชัดเจนแล้ว ในบทความนี้ จึงขอแนะนำวิธีหรือเทคนิคในการออมเงินอย่างง่าย ๆ ดังนี้

การวางแผนการออม
การออมเงิน เป็นการแบ่งเงินส่วนหนึ่งจากรายรับ เพื่อนำมาเก็บเป็นเงินออมไว้ใช้ในเวลาที่จำเป็นหรือใช้ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นในการวางแผนการเงินอีกด้วย สำหรับท่านใดที่เริ่มเก็บออมเงินได้เร็วกว่า ย่อมรวยเร็วกว่า

กองทุนส่วนบุคคลคืออะไร
ในการลงทุนเพื่อเป้าหมายทางการเงิน เรามีเครื่องมือทางการเงินให้เลือกใช้มากมายหลายสินทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น, กองทุนรวม, อสังหาริมทรัพย์, หรือทองคำ เป็นต้น

การลงทุนระยะสั้นและระยะยาว
เป้าหมายในชีวิตของเรา สามารถบรรลุได้โดยการวางแผน การวางแผนการเงินก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญเพื่อให้การบรรลุเป้าหมายเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ การลงทุนจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้เราสามารถเพิ่มมูลค่าของเงินเก็บ และบรรลุเป้าหมายทางการเงินของเราได้